ทาง CDC ของอเมริกา และองค์การอนามัยโลก ได้ให้คำนิยาม เอาไว้ 2 คำนิยาม คือ
Acute COVID 19 หรือ การติดเชื้อโควิด 19 ระยะเฉียบพลัน
ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้ไอเจ็บคอ หลังจากหาย หรืออาการดีขึ้น อาจยังมีอาการ ไม่ค่อยสบายตัว มีน้ำมูก
มีอาการคล้ายคนเป็นภูมิแพ้ มีความรู้สึกปวดเมื่อยเนื้อตัว รู้สึกอ่อนแรงกว่าปกติ หรือนอนไม่หลับ ซึ่งอาการเหล่านี้ สามารถเป็นได้จนถึงประมาณ 1 เดือน หลังการติดเชื้อ
Post Covid 19 condition หรือเรียกว่า long COVID
เป็นผลกระทบในระยะยาวของการติดเชื้อโควิด 19 และมรอาการหรือความผิดปกติของร่างกาย
หรือความผิดปกติของจิตใจเป็นระยะเวลามากกว่าหรือเท่ากับ 2 เดือน โดยอาการที่พบบ่อยได้แก่ อาการไอเรื้อรัง อาการจมูกได้รับกลิ่นน้อยลง อาการลิ้นรับรสชาติน้อยลง
อาการทางสมองต่างๆ เช่น ภาวะนอนไม่หลับ ความจำแย่ สมาธิสั้น เคลื่อนไหวช้าลง ประสิทธิภาพทางสมองลดลง อาการอ่อนเพลียเหนื่อยง่าย รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย หรือมีอาการท้องผูกท้องเสีย นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการผมร่วงผิดปกติต่อเนื่องกันถึงประมาณ 3 เดือน
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ long COVID
ได้แก่ ผู้ที่เคย เป็นโรคโควิดแบบอาการรุนแรงหรือปอดอักเสบ ผู้ป่วยอายุมาก และ ผู้ป่วยเพศหญิง
การป้องกันการเกิดภาวะลองโควิด
ทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อโควิด ได้แก่ การฉีดวัคซีน การใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง และ การรักษาความสะอาดของมือ
ภาวะลองโควิด หรือภาระแทรกซ้อนภายหลังการป่วยเป็นโควิด-19 คืออะไร
เป็นอาการที่ผู้ป่วยโควิด-19 มักพบภายหลังจากรักษาหายแล้ว ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และสุขภาพจิต โดยมักพบมีอาการภายหลังได้รับเชื้อ 4 ถึง 12 สัปดาห์ โดยอาการที่พบ
สามารถดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปได้ หรือมีการกลับเป็นซ้ำใหม่ได้ ส่วนใหญ่มักบรรเทาลงและหายได้เอง
อาการของภาระลองโควิดมีอะไรบ้าง
อาการของภาวะลองโควิดที่พบได้บ่อย 10 อันดับแรก ได้แก่ อ่อนเพลีย เวียนศรีษะ หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย ผมร่วง ไอ วิตกกังวล/เครียด นอนไม่หลับ ความจำสั้น ปวดศรีษะ เจ็บหน้าอก ตามลำดับ
โดยส่วนใหญ่ความรุนแรงของอากาจะอยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และสามารถพบได้หลากหลายอาการ บางคนอาจมีความผิดปกติเพียงอาการเดียว
หรือหลายอาการร่วมกันได้
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะลองโควิด
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะลองโควิดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดมีเพียงข้อสังเกตว่ามีปัจจัยที่พบร่วมได้ในหลายๆ การศึกษา เช่น
เพศหญิง อายุมาก ภาวะอ้วน มีโรคประจำตัว มีประวัติโรควิตกกังวลหรือซึมเศ้า มีประวัติโรคปอดเรื้อรัง มีอากามากกว่า 5 อาการในช่วง 1 สัปดาห์แรกของการเจ็บป่วย
และความรุนแรงของโรคมากในระยะแรก เป็นต้น
จะทราบได้อย่างไรว่าอาการที่เป็นอยู่เป็นอาการที่เกิดจากภาวะลองโควิด
ท่านสามารถสังดเกตอาการของตนเองได้ โดยอาการที่เกิดจากภาวะลองโควิดจะเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังจากการได้รับเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน
นับจากวันตรวจพบเชื้อและมีอาการต่อเนื่อง หรือเป็นๆ หายๆ นานมากกว่า 2 เดือน และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้จากการวินิจฉัยอื่นๆ
หากคิดว่ามีอาการของภาวะลองโควิด ควรทำอย่างไร
หากอาการที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 เดือน สามารถไปพบแพทย์ หรือบุคคลากรในสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อขอรับคำปรึกษา
และรับการตรวจรักษาต่อไป